เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เป็นหนึ่งในโมเดลเศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green Economy: BCG Model) ซึ่งเป็นนโยบายขับเคลื่อนประเทศไทยของรัฐบาล เนื่องจากที่ผ่านมาประเทศไทยใช้ทรัพยากรและความหลากหลายทางชีวภาพสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งผลของการพัฒนาดังกล่าวต้องแลกด้วยความเสื่อมโทรมของทรัพยากรและการลดลงของความหลากหลายทางชีวภาพ เกิดของเหลือทิ้งที่สร้างมลพิษ ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาสุขภาพ จึงต้องใช้งบประมาณจํานวนมากเพื่อแก้ปัญหา
โมเดลเศรษฐกิจ BCG จึงเป็นรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจที่ต่อยอดจากจุดแข็งของประเทศไทยคือ ความหลากหลายทางชีวภาพ และความหลากหลายทางวัฒนธรรม เป็นการเชื่อมโยงหลักคิดเศรษฐกิจพอเพียงสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน บูรณาการการพัฒนาตั้งแต่ต้นน้ําถึงปลายน้ํา สร้างมูลค่าเพิ่มโดยใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สําหรับเศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นแนวทางในการหมุนเวียนวัสดุทั้งในเชิงชีวภาพและเชิงเทคนิคกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ มีการเพิ่มคุณค่าทางเศรษฐกิจไปพร้อมกับการลดการใช้ทรัพยากรจากธรรมชาติและลดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม นับเป็นทางเลือกใหม่ที่สามารถพัฒนาเศรษฐกิจประเทศไปสู่ความยั่งยืน จึงเป็นที่ยอมรับและมีการขับเคลื่อนทั้งจากภาครัฐและภาคธุรกิจทั่วโลก
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้นําเสนอสมุดปกขาว “BCG in Action: การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว” โดยเศรษฐกิจหมุนเวียนจะถูกนําไปใช้กับทุกกลุ่มอุตสาหกรรม ซึ่งจะเน้นเรื่องการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าใน 3 เรื่อง คือ การใช้งานผลิตภัณฑ์เต็มวงจร การแปรสภาพเพื่อกลับมาใช้ใหม่ กระบวนการผลิตเพื่อให้เกิดของเสียน้อยที่สุด เพื่อนําไปสู่การปรับปรุงระบบการผลิตหรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ครอบคลุมตั้งแต่อุตสาหกรรมต้นน้ําซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่มีความพร้อมสูง มีกําลังลงทุนในเทคโนโลยี พร้อมรับความเสี่ยง สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้สูง และจะเป็นกําลังสําคัญของเศรษฐกิจไทยในอนาคต จนถึงผู้ประกอบการปลายทาง รวมทั้งผู้ประกอบการ SMEs เกษตรกร หรือภาคชุมชน ที่ใช้เทคโนโลยีไม่สูง แต่เกี่ยวข้องกับคนจํานวนมากและเป็นรากฐานสําคัญของเศรษฐกิจไทย
ประเทศไทยยังไม่มีการกําหนดกรอบการบูรณาการและขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียนโดยตรง มีเพียงการกล่าวถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืนในแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20ปี แผนแม่บท และแผนปฏิบัติการต่างๆ ทั้งนี้ คณะกรรมการบริหารโมเดลเศรษฐกิจ BCG ได้อนุมัติแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564-2570เมื่อเดือนมกราคม ปี 2564แล้วอย่างไรก็ตาม สํานักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ตระหนักถึงความสําคัญที่จะต้องมีการบูรณาการและขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียนในระดับประเทศ ตลอดจนความจําเป็นของการมีแพลตฟอร์มเพื่อพัฒนานโยบายนวัตกรรมเศรษฐกิจหมุนเวียน จึงได้จัดทําโครงการบูรณาการและขับเคลื่อนภาคส่วนของไทยสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ในปีงบประมาณ 2564โดยมุ่งเน้นการพัฒนา Circular Economy Innovation Forum เพื่อระดมความคิดในการเสนอแนะเชิงนโยบายในการบูรณาการและขับเคลื่อนภาคส่วนของไทยสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน อันจะทําให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป